CMRU LIBRARY RECOMMENDATIONS ประจำเดือนกรกฎาคม 2567

5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 โดย จิตรดา หมั่นขีด

          CMRU LIBRARY RECOMMENDATIONS ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ขอนำเสนอใน Theme วันเนลสันแมนเดลาสากล (Nelson Mandela Day) ที่ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทั่วโลกมีการระลึกถึงผู้ที่รณรงค์การแบ่งแยกสีผิว “เนลสัน แมนเดลา” ทางทีมงานของเราได้รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจหลายประเภทเอาไว้แล้ว ตามมาอ่านกันเลย..

ชื่อเรื่อง : ผู้นำปัญญาเชิงปฏิบัติ : แมนเดลา ผู้ปลดแอกแอฟริกาใต้
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00153768
ผู้แนะนำ : ชุติมา พรมเสนใจ
          เนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกา ผู้นำที่ได้ชื่อว่าต่อสู้มาทั้งชีวิต จนกลายมาเป็นผู้สร้างแอฟริกาใต้ยุคใหม่จากซากปรักหักพัง ซึ่งภายในเล่มนอกจากจะกล่าวถึงประวัติตั้งแต่ชาติกำเนิด ชีวิตวัยเด็ก เส้นทางการเมือง การถูกจองจำ และการสร้างความปรองดองแล้วนั้น ยังกล่าวถึงการพัฒนาตัวแบบของการศึกษาผู้นำปัญญาเชิงปฏิบัติอีกด้วย สามารถศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุด ชั้น 5 
 

ชื่อเรื่อง : เนลสัน แมนเดลา: ความรู้ฉบับพกพา Nelson Mandela : a very short introduction
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00125481
ผู้แนะนำ : ชุติมา พรมเสนใจ
          เนลสัน แมนเดลา บุรุษผู้มีใบหน้าเปื้อนยิ้ม ผู้ปลดปล่อยแอฟริกาใต้จากการถูกกดขี่เชื้อชาติ โดยหนังสือเล่มนี้จะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักแมนเดลามุมใหม่ ๆ ในเชิงวิพากษ์  ทั้งในด้านนักการเมือง นักบุญ รวมถึงในด้านปุถุชน สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุด ชั้น 5 

ชื่อเรื่อง : Nelson Mandela. By: Williams, Michael W., Salem Press Biographical Encyclopedia, 2022
Research Starters : https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=ers&AN=90669693&site=eds-live&authtype=ip,uid  
เงื่อนไข : เข้าผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยหรือเข้าผ่าน SSL-VPN สามารถดูคู่มือได้ที่ http://www.lib.cmru.ac.th/web62/core/FILE/1551088238.pdf
ผู้แนะนำ : นางสาวจิตรดา หมั่นขีด และนางสาวสุรดา ปฐวีวิจิตร
          เนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ในปี 1994 - 1999 ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในบทความนี้ได้กล่าวถึงชีวประวัติของเนลสัน แมนเดลา ตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตการทำงาน รวมไปถึงสิ่งที่เนลสัน แมนเดลาได้ทำอันแสดงถึงผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ทั้งนี้จะเป็นเรื่องอะไรนั้นสามารถอ่านได้ในบทความค่ะ

ชื่อเรื่อง : Mandela, Nelson
Gale eBook : https://link.gale.com/apps/doc/CX2587300270/GVRL?u=thcmru&sid=bookmark-GVRL&xid=bc8a8988
From : Encyclopedia of Western Colonialism since 1450 (Vol. 2)
เงื่อนไข : เข้าผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยหรือเข้าผ่าน SSL-VPN สามารถดูคู่มือได้ที่ http://www.lib.cmru.ac.th/web62/core/FILE/1551088238.pdf
ผู้แนะนำ : นางสาวจิตรดา หมั่นขีด และนางสาวสุรดา ปฐวีวิจิตร
          บทความเรื่อง เนลสัน แมนเดลา ได้พูดถึงประวัติของเนลสัน แมนเดลา แบบคร่าว ๆ  แต่ที่สำคัญสุด คือได้กล่าวถึงความเป็นมาที่เขาได้ยืนหยัดต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1993 อีกทั้งเขายังได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของแอฟริกาใต้ในปี 1994 และดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 1999 

ชื่อเรื่อง : สิทธิมนุษยชนกับมาตรการทางกฎหมายในการแสดงออกซึ่งลักษณะการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวในประเทศไทย
ชื่อวารสาร : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2565, หน้า 718-726
Link : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/258137/175253 
ผู้แนะนำ : นางสาววรัฏฐา กัวตระกูล
          บทความนี้การกล่าวถึงแนวคิดและหลักกฎหมายในเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประเด็นปัญหาและผลกระทบในการเหยียดเชื้อชาติ และสีผิว หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักกฎหมายไทยและต่างประเทศ
 

ชื่อเรื่อง : ดวงตาสีฟ้าสุดฟ้า : คนผิวดำกับการแสวงหาตัวตนที่หล่นหาย
ชื่อวารสาร : วารสารปาริชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2565, หน้า 1-16 
Link : https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/249774/174604 
ผู้แนะนำ : นางสาววรัฏฐา กัวตระกูล
          บทความที่ศึกษาตัวละครในนวนิยาย เรื่อง ดวงตาสี ฟ้าสุดฟ้าของโทนี มอร์ริสัน ประเด็นการถูกทำให้เป็นชายขอบ การแสวงหาตัวตน และการสร้างความหมาย ศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้แนวคิดคนชายขอบ นำเสนอด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการปลูกฝังความเชื่อการแบ่งแยกชนชั้นด้วยสีผิว ด้วยการยกระดับคุณค่าคนผิวขาวเป็นสิ่งงดงาม แต่กดทับคนผิวดำให้กลายเป็นความอัปลักษณ์ ส่วนพื้นที่กับการแสดงตัวตนของคนผิวดำ ทั้งด้านพื้นที่ทางสังคมที่เป็นช่องว่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องการเหยียดสีผิวและพื้นที่ทางจิตวิญญาณเพื่อเชื่อมโยงรากเหง้าของชาวแอฟริกัน ถือเป็นการสร้างความหมายเพื่อกำหนดคุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้แต่งสร้างตัวละครพีโคลา บรีดเลิฟ เป็นภาพแทนของคนผิวดำที่สยบยอมต่ออำนาจวาทกรรมคนผิวขาวและการให้ความหมายแก่ตัวละครคนผิวขาวที่ดูบริสุทธิ์และการสื่อสารของคนผิวดำกับสังคมโลก แสดงให้เห็นว่าสังคมของคนผิวดำไม่ได้ยอมรับชุดความคิดเหล่านั้นทั้งหมด แต่พยายามแสวงหาตัวตนที่ผ่านการรวมกลุ่ม และการปรับตัวเพื่อต่อรองอำนาจของคนผิวดำให้เพิ่มมากขึ้น
 

ชื่อเรื่อง : He Named Me Malala
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00145333
Location : บริการยืม - คืน สื่อโสตทัศน์ ชั้น 7 สำนักหอสมุด
ผู้แนะนำ : นายสุทัศน์ เขียวนิล
          Malala Yousafzai วัย 15 ปีเป็นนักเคลื่อนไหวชาวปากีสถานโดยมีชื่อตามวีรบุรุษพื้นบ้านชาวอัฟกานิสถานที่ถูกกลุ่มตาลิบันยิง แต่รอดชีวิตมาได้ในปี พ.ศ. 2555 He Named Me Malala ติดตามเหตุการณ์ที่นำไปสู่การพยายามลอบสังหารและหลังจากนั้น รวมถึงเหตุการณ์ของ Malala ที่กล่าวสุนทรพจน์ต่อสหประชาชาติ สองปีต่อมาในปี พ.ศ. 2557 เมื่ออายุ 17 ปี เธอกลายเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ชื่อเรื่อง : Green book
Location : บริการยืม - คืน สื่อโสตทัศน์ ชั้น 7 สำนักหอสมุด
ผู้แนะนำ : นายสุทัศน์ เขียวนิล
          เรื่องราวของ ผู้ชาย 2 คน ที่มาจากโลก 2 ใบ หนึ่งคือศิลปินนักเปียโนผิวสีระดับโลก ดร.ดอน เชอร์ลีย์ อีกหนึ่งคือคนขับรถชาวอิตาเลียนอดีตการ์ดเฝ้าผับ โทนี่ ลิป ได้มุ่งหน้าสู่ตอนใต้ของอเมริกาในยุค 60’s อันเป็นยุคที่ประเด็นการเหยียดสีผิวยังคงรุนแรงอยู่ เส้นทางการเดินทางครั้งนี้จะสร้างหนึ่งมิตรภาพ ข้ามเส้นแบ่งพรมแดนของสีผิว-ชนชั้น และจะส่งต่อเสียงหัวเราะ คราบน้ำตา สร้างมุมมองใหม่ในการหันมามองเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป


สำนักหอสมุด "มุ่งมั่นให้บริการ สร้างสรรค์ความรู้สู่ชุมชน"